ผู้เขียน หัวข้อ: จัดเลี้ยงนอกสถานที่: แต่งงานพิธีเช้า ประเพณีสิริมงคลของบ่าวสาว  (อ่าน 111 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 271
  • รับจ้างโพส ผ่านเวปประกาศ-เวปบอร์ด รับจ้างโพสเว็บ เลื่อนประกาศ ราคาไม่แพง
    • ดูรายละเอียด
จัดเลี้ยงนอกสถานที่: แต่งงานพิธีเช้า ประเพณีสิริมงคลของบ่าวสาว

การแต่งงาน ประเพณีสำคัญของคนไทยที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบมากขึ้น พร้อมที่จะมีครอบครัวเป็นของตัวเองแล้ว โดยต้องได้รับการยอมรับจากผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย

ทุกวันนี้น้อยคนนักจะรู้ลำดับพิธีการแต่งงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน สำหรับพิธีในช่วงเช้าของการแต่งงานนั้น ส่วนมากมักจะเริ่มในช่วงเวลา 09.19 น. ซึ่งเป็นเลขมงคลที่สุดในการแต่งงาน


งานแต่งพิธีเช้า ลำดับขั้นตอนการแต่งงานแบบไทย

การแต่งงานแบบไทยนั้นเป็นประเพณีที่มีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเยอะมาก และเป็นประเพณีที่มีเสน่ห์ แต่ในปัจจุบันพิธีอาจมีการปรับเปลี่ยนให้รวบรัดมากขึ้น มีการหมั้นและพิธีแต่งงานในวันเดียวกันไปเลย 3minutesfood จะมาบอกลำดับพิธีที่อยู่ในงานแต่งงานพิธีเช้าทั้ง 7 พิธี

1.    พิธีสงฆ์ – จะนิยมนิมนต์พระ 9 รูป เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล จะมีการสวดมนต์และตักบาตร จากนั้นก็กรวดน้ำ รับพรจากพระสงฆ์

2.    พิธีแห่ขันหมาก – ประกอบไปด้วยขันหมากเอก และขันหมากโท มีขบวนกองยาวนำหน้าเพื่อความสนุกสนานคึกครื้น และต่อด้วยขันหมากเอกและขันหมากโท พิธีนี้เจ้าบ่าวจะเป็นผู้อยู่ในขบวนแห่ แต่เจ้าสาวต้องรออยู่ที่บ้าน ร้องโห่รับกับ 3 ครั้ง โห่รับ 3 ครั้ง จากนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะออกไปต้อนรับพร้อมเด็กสาวที่ถือพานไว้ต้อนรับ และขบวนขันหมากจึงเข้าไปในบ้าน แต่ต้องผ่านประตูเงิน ประตูทอง ก่อน โดยเจ้าบ่าวต้องเตรียมซองเพื่อขอผ่านประตู ถึงจะเข้าพิธีการถัดไป

3.    พิธีสู่ขอและนับสินสอด – เมื่อผ่านประตูเงินประตูทองแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนที่ต้องนำพานมาวางเรียงเพื่อเปิดพานสินสอดและทำการนับสินสอด ผู้ใหญ่จะมีการโรยข้าวตอก ดอกไม้ ถั่ว งา ใบเงิน ใบทอง ลงในพานสินสอด และแม่เจ้าสาวจะเป็นผู้ห่อสินสอด และแบกพาดบ่านำไปเก็บตามประเพณี

4.    พิธีรับไหว้ แหวนหมั้น – เป็นพิธีฝากเนื้อฝากตัวของคู่บ่าวสาว ไหว้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย พ่อแม่ ต้องกราบ 3 ครั้งแบบไม่แบมือ ส่วนญาติคนอื่นๆ กราบ 1 ครั้ง ไม่แบมือ หลังจากนั้นก็ส่งพานธูปเทียนแพให้ผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่จะทำการผูกข้อไม้ข้อมือพร้อมให้พรและซองเงินขวัญถุง หลังจากไหว้เสร็จก็เป็นการสวมแหวนหมั้น ฝ่ายเจ้าบ่าวจะสวมแหวนให้เจ้าสวมแหวานให้เจ้าสาวก่อน และเจ้าสาวก็กราบที่ตักของเจ้าบ่าว และสวมแหวนให้เจ้าบ่าว

5.    พิธีรดน้ำสังข์ – หรือพิธีหลั่งน้ำพุทธมนต์ อันดับแรกจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยก่อน และบ่าวสาวก็ขึ้นไปนั่งที่ตั่ง เตรียมพิธีรดน้ำสังข์ ประธานในงานสวมมงคลแฝดให้บ่าวสาวและเจิมแป้งที่หน้าผาก แล้วจึงหลั่งน้ำ และอวยพรบ่าวสาวตามลำดับ

6.    พิธีส่งตัวเข้าหอ – เชิญผู้ใหญ่ที่แต่งงานอยู่กินกันมานาน ไม่มีเรื่องทะเลาะกันมาทำพิธีปูที่นอน เจ้าบ่าวจะรออยู่ในห้อง และแม่เจ้าสาวจะทำการส่งตัวเจ้าสาวให้แก่เจ้าบ่าว ผู้ใหญ่ทำการหยิบเครื่องพิธี ฟักเขียว ครกบดยา ถุงเงิน ถุงทอง ไม้เท้า กลีบกุหลาบมาโปรยลงบนเตียง คู่ผู้ใหญ่ทำการนอนลงบนเตียงและอวยพร จากนั้นจึงจูงคู่บ่าวสาวขึ้นเตียงพร้อมกล่าวโอวาสต่างๆ

7.    พิธีฉลองมงคลสมรส – หลังจากทำพิธีต่างๆเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาในการฉลองมงคลสมรส โดยการจัดเลี้ยงฉลองแบบโต๊ะจีน ค็อกเทล หรือบุฟเฟ่ต์ ตามความสะดวกของเจ้าของงาน บางคู่อาจจะมีอาฟเตอร์ปาร์ตี้เพื่อความสนุกสนานกับเพื่อนฝูง


ทุกวันนี้การแต่งงานจะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน มีบริการที่เรียกว่า รับจัดงานแต่งงานพิธีเช้า อยู่ไม่น้อย ซึ่งผู้ให้บริการนี้ จะมีการจัดเตรียมให้ทุกอย่าง ตั้งแต่เริ่มพิธียันจบพิธี พร้อมกับนายพิธีที่มีความชำนาญในการทำพิธี พร้อมมีการตกแต่งสถานที่ที่สวยงามอีกด้วย เจ้าบ่าว เจ้าสาวเพียงแค่เตรียมเงินสินสอด และเชิญแขกมางานเท่านั้น เป็นบริการที่ง่ายและสะดวกสบายมากเลยทีเดียว