ผู้เขียน หัวข้อ: บ้านจัดสรรโคราช: เทคนิคใช้ภูมิปัญญาไทยสร้างบ้าน ให้ลงตัวและอยู่เย็นสบายในอากาศเม  (อ่าน 504 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 288
  • รับจ้างโพส ผ่านเวปประกาศ-เวปบอร์ด รับจ้างโพสเว็บ เลื่อนประกาศ ราคาไม่แพง
    • ดูรายละเอียด

การสร้างบ้านยุคใหม่ โดยเฉพาะกับพื้นที่อากาศเมืองร้อนอย่างไทย มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทำให้บ้านเย็นเข้ามาเสริม เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าบางแบบบ้านหรือบางบริษัทรับสร้างบ้านก็ได้ออกแบบบ้านโดยอาศัยการเรียนรู้-อยู่-นอน จากภูมิปัญญาไทยที่คนยุคก่อนใช้สร้างบ้านมาปรับให้เข้ากับการออกแบบและสร้างบ้านยุคใหม่ ซึ่งจะมีภูมิปัญญาแบบไหนบ้างที่จะทำให้บ้านอยู่เย็นได้แม้จะเอนกายในบ้านที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร

เทคนิคใช้ภูมิปัญญาไทยสร้างบ้าน ให้ลงตัว

อย่างที่ทราบว่า บ้านในอดีต จะบ่งบอกสภาพอากาศ ภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน ตามภาคนั้นๆ อย่างภาคใต้มีพายุฝนชุกทั้งปี บ้านส่วนใหญ่จะไม่สูงมากเพื่อเลี่ยงพายุ หรือบ้านภาคกลางมีที่ลุ่ม ต้องยกใต้ถุนสูงเพื่อหนีน้ำ ดังนั้นการสร้างบ้านหนึ่งหลังจึงมักจะออกแบบอ้างอิงจากภูมิปัญญาดั้งเดิมได้ดังนี้

1. ช่องเปิดที่รับกับสภาพอากาศ ทิศทางลม แสง

หากอ้างอิงให้เห็นภาพอย่างง่ายที่สุดคือ ในอดีตทุกบ้านยังไม่มีเครื่องปรับอากาศ ลมที่พัดผ่านเข้าบ้าน ล้วนเป็นลมที่เกิดจากธรรมชาติตามฤดูกาล หรือลมประจำฤดู รวมถึงทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก ก็เป็นตัวกำหนดระยะเวลาการสะสมความร้อนของบ้าน ดังนั้นเทคนิคอย่างง่ายเพื่อให้บ้านเย็นสบายคือ การศึกษาทิศทางรับลม ทิศทางแดด เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนออกแบบบ้านที่มีช่องเปิดทั้งประตูหน้าต่าง เพื่อให้เปิดรับลมแสงในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากจะทำให้บ้านเย็นแล้วยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายจากเครื่องปรับอากาศต่าง ๆ อีกด้วย


2. เลือกทรงหลังคาระบายความร้อน

หลังคา เป็นพื้นที่ที่รับทั้งแดดและฝน ปกป้องสมาชิกคนในครอบครัว และทรัพย์สินภายในบ้านให้ปลอดภัยเสมอมา แต่ใช่ว่าเราจะสามารถออกแบบหลังคาให้เป็นรูปทรงอย่างไรก็ได้ตามใจ เพราะทรงหลังคานั้นยังมีผลต่อไอร้อน และการกระจายความร้อนในบ้านด้วย

ในอดีต แบบบ้านในเมืองร้อนมักจะสร้างหลังคาบ้านเป็นทรงหน้าจั่ว เพื่อช่วยระบายฝนที่ตกให้ไหลรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันประโยชน์ที่ได้มากกว่านั้นคือ หลังคายิ่งทรงสูง ก็ยิ่งมีช่องว่างภายใต้หลังคามากขึ้น ซึ่งส่วนนี้ยังได้ประโยชน์เป็นพื้นที่ดักความร้อนก่อนลงสู่ชั้นล่างอีกด้วย

นอกจากหลังคาแล้ว ยังมีส่วนของชายคาที่ทำหน้าที่รับน้ำฝนจากหลังคาระบายออกให้พ้นตัวบ้าน รวมทั้งยังให้ร่มเงาทำให้บ้านเย็นสบาย ซึ่งการสร้างบ้านในปัจจุบันยังมีการนำความพิเศษของชายคาในแบบบ้านเดิม มาเพิ่มฟังก์ชันให้ใต้หลังคาระบายความร้อนได้เร็วขึ้น โดยมีช่องระบายอากาศเพื่อหมุนเวียนอากาศจากภายนอกและภายใน


3. ต้นไม้กรองแสง

แน่นอนว่าหนึ่งแปลนบ้านมักจะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับจัดสวนสวย และมักจะเป็นของคู่กันมาช้านาน จะเพื่อส่งเสริมให้บ้านดูโดดเด่น หรือเพื่อความเป็นสิริมงคล ก็ล้วนได้ประโยชน์จากร่มเงาทั้งนั้น ดังนั้นการเลือกตำแหน่งและขนาดของต้นไม้ควรมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทรับสร้างบ้านหรือนักออกแบบสวนกำกับดูแล เพราะร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่หากปลูกชิดบ้านมากไปนอกจากจะไม่กรองแสงแล้ว อาจเกิดอันตรายกับตัวบ้านได้หากหักโค่น

ต้นไม้สามารถกรองความร้อนลดอุณหภูมิจากไอแดดก่อนเข้าสู่บ้านได้มากถึง 5 องศา และหากมีพื้นที่เล็กน้อยในมุมห้องนั่งเล่น หรือบนโต๊ะทำงาน ต้นไม้กระถางขนาดต่างๆ ก็สามารถลดอุณหภูมิได้อีกทาง

ไม่เพียงแค่ร่มเงาจากไม้ใหญ่เท่านั้น การปลูกหญ้า หรือสร้างบ่อปลา น้ำพุเล็กๆ รอบบ้านยังเป็นอีกเทคนิคภูมิปัญญาไทย ที่ดับร้อนจากอารมณ์ความหงุดหงิดจากงาน ความกดดันต่างๆ ให้ผ่อนคลายสบายใจ เสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เย็นทั้งกายและใจ

นี่เป็นเทคนิคการผสมผสานภูมิปัญญาไทยที่เราเห็นภาพชัดที่ถูกนำมาปรับใช้กับแบบบ้านในปัจจุบัน ทั้งนี้ยังมีอีกหลายเทคนิคที่ถูกนำมาประยุกต์รวมกับนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้บ้านเย็นอยู่สบาย ซึ่งสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน จะได้นำมาฝากในโอกาสต่อไป


บ้านจัดสรรโคราช: เทคนิคใช้ภูมิปัญญาไทยสร้างบ้าน ให้ลงตัวและอยู่เย็นสบายในอากาศเมืองร้อน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/home3/